สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอโพนสวรรค์

1.พระธาตุโพนสวรรค์

ตั้งอยู่ที่หมู่ 11 บ้านโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์ พระธาตุโพนสวรรค์เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาวอำเภอโพนสวรรค์
การเดินทางมาทางหลวง นพ2028 ถนน ท่าอุเทน - กุสุมาลย์


2.พระธาตุจำปา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.โพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม
วัดพระธาตุจำปา ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่๒ บ้านเสาเล้า ตำบลโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม วัดพระธาตุจำปา พบว่าสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๒๕๓ โดยการนำของพระดี กตปุญโญ และนายกัญญา ดวงดูสัน พร้อมด้วยชาวบ้านเสาเล้า และหมู่บ้านใกล้เคียงร่วมกันสร้าง ส่วนองค์พระธาตุจำปานั้น มีหลักฐานการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ โดยการนำของพระเม้า ปญฺญาวโร ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ ๗ ปี จึงแล้วเสร็จ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุจำปา จัดเป็นพระธาตุแบบอีสานสมัยรัตนโกสินทร์ องค์พระธาตุก่อด้วยอิฐถือปูน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ฐานกว้างยาวด้านละ ๔.๔๐ เมตร สูงประมาณ ๒๐ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ทำซุ้มประตูทั้ง ๔ ด้าน ลักษณะพระธาตุเป็นแบบกลุ่มฐานสูง ที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบจาก องค์พระธาตุพนม และมีรูปทรงคล้ายกับพระธาตุท่าอุเทนมากที่สุด ต่างกันตรงที่มีขนาดเล็กกว่า ลักษณะของเรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมสูง เรือนธาตุชั้นแรกและชั้นที่ ๒ ประดับด้วยซุ้มประตูหลอกและลายปูนปั้นลงสีอย่างสวยงามทั้ง ๔ ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นส่วนองค์ระฆัง ทำทรงบัวเหลี่ยมประดับด้วยกระจกสีและลายดอกจอกปูนปั้น ถัดขึ้นไปเป็นแอวขันรองรับส่วนตีนหีบ ที่ยืดสูงคอดเรียวขึ้นไปเป็นลักษณะคล้ายคอขวด โดยระหว่าง ปลียอดและส่วนตีนหีบ คั่นกลางด้วยแอวขัน จากนั้นจึงเป็นส่วนของยอดพระธาตุที่ทำเป็นบัวเหลี่ยมเรียวขึ้นไปสู่ยอดสุดติดกับฉัตร ซึ่งแต่เดิมฉัตรทำด้วยทองเหลือง แต่ถูกฟ้าผ่าเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ จึงได้นำฉัตรเหล็กขึ้นไปใส่ไว้แทนสำหรับงานนมัสการพระธาตุจำปา ได้ถูกกำหนดจัดให้มีขึ้น ในช่วงระหว่างวันแรม ๓ ค่ำ ถึง แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี รวม ๓ วัน ๒ คืน ซึ่งเดิมนั้นได้มีการจัดงานในลักษณะเช่นนี้ ต่อเนื่องกันมาเป็นประจำทุกปี ในรูปแบบ ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่น และใช้ชื่อว่า“งานสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณีนมัสการพระธาตุจำปา”ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน เพื่อ อนุรักษ์ สืบสาน และดำรงไว้ซึ่ง ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอำเภอโพนสวรรค์ ที่สืบทอด กันมา ที่แสดงออกถึงความรัก สมัครสมานสามัคคี และความศรัทธาของพี่น้อง ชาวอำเภอโพนสวรรค์ ที่มีต่อองค์พระธาตุจำปา ที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมือง ของอำเภอโพนสวรรค์ให้คงอยู่ตลอดไป อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์องค์พระธาตุจำปา ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

 

3.พระธาตูนาเต่า
ท่านพระครูปริยัติสิกขากิจ(หลวงพ่อแพง) อดีตเจ้าคณะอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้ร่วมกับชาวบ้านนาเต่าวางแผนพัฒนาหมู่บ้านจนเจริญรุ่งเรือง สังเกตได้จากถนนในหมู่บ้านจะกว้าง 12 เมตร ทั้งหมู่บ้าน และท่านแบ่งที่ดินขอวัดส่วนหนึ่งให้สร้างโรงเรียนบ้านนาเต่า และประมาณ  9 ปี  พระธาตุเริ่มสร้าง เมื่อ วันเสาร์ วันที่ 17 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2521 ตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย  พระธาตุนาเต่า มีความสุง 15 เมตร มีความกว้างด้านละ  4.50  เมตร   สร้างเสร็จแล้วก็บรรจุอัฐิของท่านพระครูปริยัติสิกขากิจและอัฐิหลวงปู่โท  (ไม่ทราบฉายา) ที่ท่านพระครูปริยัติสิกขากิจ นำไว้ที่หิ้งพระกราบไหว้บูชาทุกวัน นำมาบรรจุไวในพระธาตุ สำหรับยอดของพระธาตุบรรจุสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่นำมาจากประเทศอินเดีย คือ ดินที่พระพุทธเจ้าประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ เรียกว่า ปฐมเทศนา ธัมจักรกัปปวัตตนสูตรและดินที่พระพทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ผู้ที่นำมาบรรจุ คือ ท่านพระครูอนุรักษ์อุเทนการ อดีดเจ้าคณะอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันท่านมรณะภาพแล้ว) เนื่องจากท่านพระครูอนุรักษ์อุเทนการ มีลูกศิษย์ไปศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศอินเดีย  ต่อมา พ.ศ. 2533 ได้อันเชิญอัฐิขิงพระมหากัสสปะเถระและก้อนอิฐเก่าจากพระธาตุพนมองค์เดิมที่ล้มพังทลายลงมาบรรจุไว้ด้วยความเคารพและศรัทธาพระธาตุนาเต่า มีผู้คนหลายท่านแวะเวียนมานมัสการกราบไหว้บูชา และทำบุญไม่ได้ขาดบางท่านมาบนบาน เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนาและสมหวังตามสิ่งที่ขอ และมีการแก้บน บางรายไม่มาแก้บนก็มีอันเป็นไป ชาวบ้านต่างก็ร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุนาเต่า จึงทำให้เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันที่นี้

 

4.ไร่กาแฟขี้ชะมด
“ไร่กาแฟขี้ชะมด” ตั้งอยู่ที่บ้านต้าย ต.โพนจาน อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ซึ่งภายในไร่นั้นจะแบ่งออกเป็นหลายโซน โดยหลักๆ จะมีโซนร้านกาแฟ โซนไร่กาแฟ และโซนสวนสัตว์ เรียกว่าเป็น “ไร่กาแฟที่เป็นมากกว่าไร่กาแฟ” เพราะว่าที่นี่ทุกคนในครอบครัวจะสามารถทำกิจกรรม ร่วมกันได้